Art and Cultural Performance in Northeastern of Thailand
In the end 19th Buddhist Era until 20th Buddhist Era start with the crowd Thai – Lao called “ Lan Xang ”. Lan Xang people migrate come in to set the communities integrate with some aborigine. Afterwards communities spread into Korat Basin and Sakon Nakhon Basin which used to be the territory of Lan Xang in ago. Folk Dance in Northeastern includes ritual of dance and dance related in the way of living in the local community.
Folk Dance in Northeastern
Fon Phu Tai Sam Phao Dance Set
Fon Phu Tai Sam Phao originates from art of dance from the Phu Tai people or Tai which second largest ethnic group of Thai and Lao. From the evidence appears that Phu Tai people living in the Northeastern of Thailand approximately two hundred thousand people. The largest group in the Mekong River and the Phu Phan mountain range for example Nakhon phanom, Sakhon Nakhon and Kalasin. Phu Tai people maintain their original manners more than the other groups. Make their unique imaginings art. In the 2522 Buddhist Era, Fine Arts Department have policy that will spread Northeast culture. Then send the faculty and students of Roi Et College of Dramtic Arts Down the field in Kalasin, Sakon Nakhon and Nakhon Phanom (After that a separate area of the province Nakhon phanom, Mukdahan is out.) By collected dance postures, Lam verse, music and costume. Until a final " Fong Phu Tai Sam Phao " for the first time which have teachers Chaweewan Damnoen (Phan) (National Artist the Northeast Folk Performind Arts) the inventor of the dance postures.
Fon Phu Tai Sam Phao to bring up the cultural heritage of Phu Tai people, who lived in the Phu Phan mountains area. The three provinces are Kalasin, Sakon Nakhon and Nakhon phanom.
Compare in terms of the dramatic performances Because all three Phu Tai people group have form and identity are different.
Fon Phu Tai Sam Phao is show of Phu Tai people in Kalasin, Sakon Nakhon and Nakhon Phanom. Fong Phu Tai Sam Phao show dancing to this one tribe. Starting from the 1 tribe is Phu Tai people of Kalasin. Next tribe is Phu Tai people of Sakon Nakhon. And the last is Phu Tai people of Nakhon Phanom
The display format is a combination of ancient boxing arts for courtship dance of the male to female and broadcast the ancient boxing style of fighting between the tribes together
Costume
1 ethnic is tribe Kalasin
- The female costume wearing a black cylinder sleeves shirt,the collar and the buttons decorated with red silk bar, edge of the fabric decorated with yellow and white fabric adorned with silver buttons. Wrap with red silk Sabai. Wearing black Mud Mee Phasin. Hair chignon bun head with Phu Tai cotton or foi silk and wearing silver jewelry.- The male costume wearing a black jacket decorated with stripes silk fabric. Wearing khakuai Pants. Use red silk tie waist.
2 ethnic is tribe Sakon Nakhon
- The female costume wearing a black cylinder sleeves shirt decorated with red fabric bar, a long line of silver buttons along. Wearing black Phasin to ankle. Wrap a shawl over the shoulders left with Sabai to the waist on the right side. Wearing a long hand (nails) are made of paper or metal, wrapped with cord and tassel at the end of the nail with a white or red. Hair chignon bun head with red cotton and wearing silver jewelry.3 ethnic is tribe Nakhon Phanom (T. Renu Nakhon,)
- The female costume wearing a indigo cylinder sleeves shirt decorated with red fabric bar. At the silver buttons have couples step. Tie waist with red fabric. Wearing a indigo Phasin to ankle. Wrap a shawl over the shoulders left with white Sabai. Hair chignon bun head with white Phu Tai cotton and wearing silver jewelry.- The male costume wearing a indigo jacket decorated with red stripes fabric. Wearing indigo khakuai Pants. Use Phare fabric tie waist.
Musical instrument
Musical instruments that are used to play include Glong san, Glong yao, Taphon, MaloRammana, Khaen, Ching, Chap. Currently, there are Phin, Pong lang, Khong, Glong tum, Wot, which can be selected by using the opportunities presented.The opportunity to show
Initially, the show for present Phra That Choeng Chum. Later the show in the carnivals or ceremony in the sacred.
แปล.......
ศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในปลายพุทธศตวรรษที่
19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เริ่มมีกลุ่มชนที่ใช้วัฒนธรรม ไทย-ลาว
เรียกว่า ล้านช้าง อพยพเข้ามาตั้งชุมชนผสมผสานกับชนพื้นเมืองเดิมที่มีอยู่บ้าง
ขยายชุมชนเข้าสู่แอ่งโคราชและแอ่งสกลนครซึ่งเคยเป็นดินแดนอาณาเขตของล้านช้างในอดีต
นาฎศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วยนาฎศิลป์ในพิธีกรรมและนาฎศิลป์ที่เกี่ยวข้องวิถีความเป็นอยู่ในชุมชนท้องถิ่น
นาฎศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชุด ฟ้อนภูไท 3 เผ่า
ฟ้อนภูไท 3 เผ่า มาจากศิลปะการร่ายรำของชาวภูไท
หรือผู้ไท ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่รองลงมาจากไทยและลาว จากหลักฐานที่มีปรากฏมีชาวผู้ไทอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณสองแสนคน
กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงและเทือกเขาภูพาน ได้แก่ จังหวัดนครพนม สกลนคร
เลย และกาฬสินธุ์ ชาวผู้ไทได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของตนไว้ได้มากกว่าชนกลุ่มอื่นๆ
ทำให้มีศิลปะการร่ายรำเฉพาะของตน
ในปี พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
จึงได้จัดส่งคณาจารย์พร้อมนักเรียนจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด
ลงพื้นที่ภาคสนามในจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร
และนครพนม(ต่อมามีพื้นที่แยกตัวเป็นจังหวัดออกจากนครพนมคือ มุกดาหาร)
โดยรวบรวมเอาท่าฟ้อน กลอนลำ ดนตรีและการแต่งกาย จนเป็นผลงาน “ฟ้อนภูไท 3 เผ่า” ขึ้นมาครั้งแรกซึ่งมี
ครูฉวีวรรณ ดำเนิน (พันธุ)
(ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น
การฟ้อนภูไท 3เผ่า
เป็นการนำเอามรดกทางวัฒนธรรมของชาวภูไทที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพานซึ่งได้ยกมา
3จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม
มาเปรียบเทียบในเชิงการจัดการแสดงทางด้านนาฏกรรม
อันเนื่องมาจากชาวภูไททั้งสามกลุ่มนี้มีรูปแบบและ เอกลักษณ์ของตนเองที่แตกต่างกัน
ฟ้อนภูไท 3
เผ่า เป็นการแสดงของชาวภูไทในเขตจังหวัด กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม ในการฟ้อน ภูไท
3 เผ่านี้ได้นำเสนอการฟ้อนทีละเผ่า เริ่มจากเผ่าที่ 1
คือภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ เผ่าที่ 2
ภูไทในจังหวัดสกลนคร และเผ่าที่ 3 ภูไทในจังหวัดนครพนม
รูปแบบการแสดงจะมีการผสมผสานศิลปะมวยโบราณ เพื่อเป็นการฟ้อนเกี้ยวพาราสีของชายหญิง
และถ่ายทอดท่ามวยโบราณในชั้นเชิงการต่อสู้ระหว่างเผ่าด้วยกัน
การแต่งกาย
เผ่า 1 เผ่ากาฬสินธุ์
- การแต่งกายหญิง
สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำแนวปกคอเสื้อและแนวกระดุมตกแต่งด้วยผ้าแถบลายแพรวาสีแดง
กุ๊นขอบลายผ้าด้วยผ้ากุ๊นสีเหลืองและขาว ประดับด้วยกระดุมเงิน
ห่มผ้าสไบไหมแพรวาสีแดง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สีดำมีตีนซิ่น
ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยฝ้ายภูไท หรือผ้าแพรฟอย และสวมเครื่องประดับเงิน
- การแต่งกายชาย สวมเสื้อสีดำมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าลายแพรวา นุ่งกางเกงขาก๊วย
ใช้ผ้าแพรวาแดงมัดเอว
เผ่า 2 เผ่าสกลนคร
-การแต่งกายหญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำแต่งขอบเสื้อด้วยผ้าแดง
มีแนวกระดุมเงินเรียงยาวตามแนวเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นพื้นสีดำต่อตีนซิ่นขิดยาวกรอมเท้า
ห่มผ้าสไบขิดทางไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา สวมส่วยมือยาว (เล็บ)
ทำมาจากกระดาษหรือโลหะพันด้วยด้ายและมีพู่ที่ปลายเล็บสีขาวหรือแดง
ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยฝ้ายแดง และสวมเครื่องประดับเงิน
- การแต่งกายชาย สวมเสื้อสีดำมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าลายแพรวา นุ่งกางเกงขาก๊วย
ใช้ผ้าขิดแดงมัดเอว
เผ่า 3 เผ่านครพนม (อ.เรณูนคร)
-การแต่งกายหญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีครามแต่งของเสื้อด้วยผ้าแดง
ที่กระดุมเงินมีสายคล้องเป็นคู่ๆ พันเอวด้วยผ้าแดง นุ่งซิ่นสีครามยาวกรอมเท้า
ไหล่ซ้ายพาดสไบสีขาว ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยฝ้ายภูไทสีขาว และสวมเครื่องประดับเงิน
-การแต่งกายชาย สวมเสื้อสีครามมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าแดง นุ่งกางเกงขาก๊วยสีคราม
ใช้ผ้าแพรขาวม้ามัดเอว
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีประกอบที่ใช้ในการเล่น ได้แก่ กลองสั้น กลองยาว
ตะโพน ม้าล่อรำมะนา แคน
ฉิ่ง ฉาบ ในปัจจุบันมี พิณ โปงลาง
ฆ้อง กลองตุ้ม โหวด เพิ่มเติม ซึ่งสามารถเลือกใช้โดยคำนึงถึงโอกาสที่ใช้แสดง
โอกาสที่แสดง
เริ่มแรกเป็นการแสดงเพื่อถวายพระธาตุเชิงชุมแต่อย่างเดียว ต่อมาได้ใช้ในงานแสดงในงานสนุกสนาน
รื่นเริงต่างๆด้วย จัดขึ้นในงานพิธีมงคลต่างๆ
หรือในงานบุญต่างๆ
ศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในปลายพุทธศตวรรษที่
19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เริ่มมีกลุ่มชนที่ใช้วัฒนธรรม ไทย-ลาว
เรียกว่า ล้านช้าง อพยพเข้ามาตั้งชุมชนผสมผสานกับชนพื้นเมืองเดิมที่มีอยู่บ้าง
ขยายชุมชนเข้าสู่แอ่งโคราชและแอ่งสกลนครซึ่งเคยเป็นดินแดนอาณาเขตของล้านช้างในอดีต
นาฎศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วยนาฎศิลป์ในพิธีกรรมและนาฎศิลป์ที่เกี่ยวข้องวิถีความเป็นอยู่ในชุมชนท้องถิ่น
นาฎศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชุด ฟ้อนภูไท 3 เผ่า
ฟ้อนภูไท 3 เผ่า มาจากศิลปะการร่ายรำของชาวภูไท
หรือผู้ไท ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่รองลงมาจากไทยและลาว จากหลักฐานที่มีปรากฏมีชาวผู้ไทอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณสองแสนคน
กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขงและเทือกเขาภูพาน ได้แก่ จังหวัดนครพนม สกลนคร
เลย และกาฬสินธุ์ ชาวผู้ไทได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของตนไว้ได้มากกว่าชนกลุ่มอื่นๆ
ทำให้มีศิลปะการร่ายรำเฉพาะของตน
ในปี พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
จึงได้จัดส่งคณาจารย์พร้อมนักเรียนจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด
ลงพื้นที่ภาคสนามในจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร
และนครพนม(ต่อมามีพื้นที่แยกตัวเป็นจังหวัดออกจากนครพนมคือ มุกดาหาร)
โดยรวบรวมเอาท่าฟ้อน กลอนลำ ดนตรีและการแต่งกาย จนเป็นผลงาน “ฟ้อนภูไท 3 เผ่า” ขึ้นมาครั้งแรกซึ่งมี
ครูฉวีวรรณ ดำเนิน (พันธุ)
(ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น
การฟ้อนภูไท 3เผ่า
เป็นการนำเอามรดกทางวัฒนธรรมของชาวภูไทที่อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพานซึ่งได้ยกมา
3จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม
มาเปรียบเทียบในเชิงการจัดการแสดงทางด้านนาฏกรรม
อันเนื่องมาจากชาวภูไททั้งสามกลุ่มนี้มีรูปแบบและ เอกลักษณ์ของตนเองที่แตกต่างกัน
ฟ้อนภูไท 3
เผ่า เป็นการแสดงของชาวภูไทในเขตจังหวัด กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม ในการฟ้อน ภูไท
3 เผ่านี้ได้นำเสนอการฟ้อนทีละเผ่า เริ่มจากเผ่าที่ 1
คือภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ เผ่าที่ 2
ภูไทในจังหวัดสกลนคร และเผ่าที่ 3 ภูไทในจังหวัดนครพนม
รูปแบบการแสดงจะมีการผสมผสานศิลปะมวยโบราณ เพื่อเป็นการฟ้อนเกี้ยวพาราสีของชายหญิง
และถ่ายทอดท่ามวยโบราณในชั้นเชิงการต่อสู้ระหว่างเผ่าด้วยกัน
การแต่งกาย
เผ่า 1 เผ่ากาฬสินธุ์
- การแต่งกายหญิง
สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำแนวปกคอเสื้อและแนวกระดุมตกแต่งด้วยผ้าแถบลายแพรวาสีแดง
กุ๊นขอบลายผ้าด้วยผ้ากุ๊นสีเหลืองและขาว ประดับด้วยกระดุมเงิน
ห่มผ้าสไบไหมแพรวาสีแดง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สีดำมีตีนซิ่น
ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยฝ้ายภูไท หรือผ้าแพรฟอย และสวมเครื่องประดับเงิน
- การแต่งกายชาย สวมเสื้อสีดำมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าลายแพรวา นุ่งกางเกงขาก๊วย
ใช้ผ้าแพรวาแดงมัดเอว
เผ่า 2 เผ่าสกลนคร
-การแต่งกายหญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำแต่งขอบเสื้อด้วยผ้าแดง
มีแนวกระดุมเงินเรียงยาวตามแนวเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นพื้นสีดำต่อตีนซิ่นขิดยาวกรอมเท้า
ห่มผ้าสไบขิดทางไหล่ซ้ายแล้วไปมัดที่เอวด้านขวา สวมส่วยมือยาว (เล็บ)
ทำมาจากกระดาษหรือโลหะพันด้วยด้ายและมีพู่ที่ปลายเล็บสีขาวหรือแดง
ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยฝ้ายแดง และสวมเครื่องประดับเงิน
- การแต่งกายชาย สวมเสื้อสีดำมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าลายแพรวา นุ่งกางเกงขาก๊วย
ใช้ผ้าขิดแดงมัดเอว
เผ่า 3 เผ่านครพนม (อ.เรณูนคร)
-การแต่งกายหญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีครามแต่งของเสื้อด้วยผ้าแดง
ที่กระดุมเงินมีสายคล้องเป็นคู่ๆ พันเอวด้วยผ้าแดง นุ่งซิ่นสีครามยาวกรอมเท้า
ไหล่ซ้ายพาดสไบสีขาว ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยฝ้ายภูไทสีขาว และสวมเครื่องประดับเงิน
-การแต่งกายชาย สวมเสื้อสีครามมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าแดง นุ่งกางเกงขาก๊วยสีคราม
ใช้ผ้าแพรขาวม้ามัดเอว
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีประกอบที่ใช้ในการเล่น ได้แก่ กลองสั้น กลองยาว
ตะโพน ม้าล่อรำมะนา แคน
ฉิ่ง ฉาบ ในปัจจุบันมี พิณ โปงลาง
ฆ้อง กลองตุ้ม โหวด เพิ่มเติม ซึ่งสามารถเลือกใช้โดยคำนึงถึงโอกาสที่ใช้แสดง
โอกาสที่แสดง
เริ่มแรกเป็นการแสดงเพื่อถวายพระธาตุเชิงชุมแต่อย่างเดียว ต่อมาได้ใช้ในงานแสดงในงานสนุกสนาน
รื่นเริงต่างๆด้วย จัดขึ้นในงานพิธีมงคลต่างๆ
หรือในงานบุญต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น